เว็บโฮสติ้งคืออะไร

เว็บโอสติ้งคืออะไร สร้างเว็บไซต์

เว็บโฮสติ้งคือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ ในเซิร์ฟเวอร์นี้จะมีระบบต่างๆ เพื่อให้เว็บไซต์นั้นๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีระบบป้องกันการโจมทีทางไซเบอร์

ในบทความนี้จะแบ่งหัวข้อเป็น 4 ส่วน

  1. หน้าที่ของเว็บโฮสติ้ง
  2. ประเภทของเว็บโฮสติ้ง
  3. การเลือกเว็บโฮสติ้ง
  4. WordPress Hosting

1. หน้าที่ของเว็บโฮสติ้ง

  1. เก็บข้อมูลเว็บไซต์
    เว็บโฮสติ้งจะเก็บข้อมูลของเว็บไซต์ ไม่ใช่แค่ไฟล์โค้ดของเว็บ หรือรูปกับวีดีโอแค่นั้น ยังรวมถึงฐานข้อมูล และการตั้งค่าต่างๆ ที่ทำให้เว็บทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. แสดงผลเว็บไซต์
    เมื่อมีคนพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ในเว็บบราวเซอร์ เซิร์ฟเวอร์จะทำการประมวลข้อมูลของเว็บไซต์และส่งข้อมูลที่ออกมาเป็นตัวเว็บไซต์แสดงให้เราเห็นในเว็บบราวเซอร์
  3. รักษาความปลอดภัย
    ในเซิร์ฟเวอร์ของเว็บโอสติ้ง จะมีโปรแกรมรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ที่จะเข้ามาโจมตี ยึดเว็บ หรือดึงข้อมูลต่างจากเว็บไซต์เรา
  4. สำรองข้อมูล
    เว็บโฮสติ้งจะมีระบบสำรองข้อมูลอยู่ แต่ละแห่งอาจไม่เหมือนกัน เช่น อาจจะมีการสำรองข้อมูลอัตโนมัติรายวัน หรือรายสัปดาห์ หรือบางแห่งเราต้องเป็นคนทำการสำรองข้อมูลเอง ขึ้นอยู่กับการบริการของโฮสติ้งแต่ละเจ้า
  5. ระบบบริการอื่นๆ
    บริการอื่นๆ ของเว็บโฮสติ้ง ที่มีให้เราใช้ เช่น ระบบอีเมลล์โดยใช้ชื่อเว็บของเราเอง การติดตั้งเว็บสำเร็จรูป โปรแกรมเสริมต่างๆ ระบบตรวจวัดผู้ชม ตรงนี้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและแพ็กเกจโฮสติ้งที่เราเลือก
Web Hosting

2. ประเภทของเว็บโฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. Shared Hosting
    เป็นการนำเครื่องเซิร์ฟเวอร์ 1 เครื่องมาแบ่งทรัพยากรและแชร์ให้ใช้กับหลายๆ เว็บไซต์ บนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียว ข้อดีคือราคาถูก ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับเว็บไซต์ใหม่ที่มีผู้ใช้งานไม่มาก แต่ไม่สามารถปรับแก้อะไรได้มากนัก
  2. VPS Hosting
    ย่อมาจาก Virtual Private Server เป็นการนำเซิร์ฟเวอร์จริงมาสร้างเซิร์ฟเวอร์จำลองหลายเครื่อง และแชร์ทรัพยากรให้ในแต่ละเซิร์ฟเวอร์จำลอง เสมือนคุณได้ดูแลจัดการเครื่องเซิรฟเวอร์เครื่องหนึ่ง ซึ่งคุณจะบริหารจัดการเว็บไซต์หรือฐานข้อมูลบนเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 1 ได้ตามแพลนของผู้ให้บริการ และอยู่ในขอบเขตของทรัพยากรที่ได้รับ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานปานกลาง ต้องการความเสถียรมากขึ้น และพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น
  3. Dedicated Hosting
    คือการเช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องมาใช้งาน เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานมาก ใช้ทรัพยากรเครื่องได้เต็มที่ ความเสถียรสูง ความปลอดภัยสูงเพราะไม่ต้องแชร์ทรัพยากรกับใคร และปรับแต่งเซิร์ฟเวอร์ได้ตามต้องการ ข้อเสียคือราคาแพง และผู้ใช้จำเป็นต้องมีความรู้เครื่องการจัดการเครื่องเซิร์ฟเวอร์
  4. Cloud Hosting
    เป็นเว็บโฮสติ้งที่สร้างบนระบบคลาวด์ ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นสูง ปรับขนาดทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ได้ง่าย มีความเสถียร์และระบบความปลอดภัยสูงมาก เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานไม่แน่นอน แต่ราคาจะขึ้นอยู่กับการใช้งานจริง
Cloud Hosting

3. การเลือกเว็บโฮสติ้ง

ในเนื้อหาด้านบนเราจะรู้ถึงประเภทเว็บไฮสติ้งไปแล้ว ซึ่งทำให้พอประเมินได้คร่าวๆ ว่าเราควรใช้เว็บโฮสติ้งประเภทไหนกับเว็บไซต์เรา และในแต่ละประเภท ผู้ให้บริการก็จะมีการแบ่งแพลนต่างๆ ให้เลือก โดยแบ่งโดยทรัพยากรและฟีเจอร์ที่ได้รับ รวมถึงราคาออกไปอีกเพื่อให้พอดีกับความต้องการ เราควรพิจารณาอะไรบ้างเพื่อเปรียบเทียบ

ทรัพยากรของเว็บโฮสติ้ง

ข้อมูลส่วนนี้ควรพิจารณาหลายที่เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน

  1. พื้นที่เก็บข้อมูล
  2. ปริมาณการรับส่งข้อมูล
  3. จำนวนโดเมน
  4. จำนวนฐานข้อมูล
  5. จำนวนอีเมลล์

ฟีเจอร์ที่ได้รับ

ข้อมูลส่วนนี้บางผู้ให้บริการอาจจะได้แสดงให้ดูเพราะบางเว็บไซต์ก็อาจไม่ได้ใช้ฟีเจอร์บางตัวต้องสอบถามผู้ให้บริการแต่ละเจ้า

  1. การติดตั้ง CMS wordpress
  2. SSL ฟรี
  3. ระบบ Auto Backup
  4. ระบบป้องกันการโจมตี DDoS

นอกจากนี้ยังมีเรื่อง Downtime, ความเร็วของเว็บโฮสติ้ง, การ Support ฯ อาจจะต้องหาข้อมูลหรือรีวิวผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เราสนใจ เพื่อประกอบการตัดสินใจด้วย

WordPress

4. WordPress Hosting

เป็นเว็บโฮสติ้งที่สร้างมาเพื่อใช้กับ WordPress โดยเฉพาะ เป็นโฮสติ้งที่จัดสรรทรัพยากรและทำการปรับค่ามาให้เป็นพิเศษสำหรับ WordPress รวมถึงฟีเจอร์ที่ติดตั้งมาเพื่อำนวยความสะดวก รวมถึงความเร็วที่มากกว่า Share Hosting อย่างเห็นได้ชัด

ข้อดีของ WordPress Hosting

  1. ติดตั้งง่าย
    WordPress Hosting จะมีเครื่องมือสำหรับติดตั้ง WordPress อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถติดตั้ง WordPress ได้โดยไม่ต้องตั้งค่าอะไรเลย ทำให้ประหยัดเวลา
  2. ใช้งานสะดวก
    WordPress Hosting จะมีเครื่องมือและฟีเจอร์สำหรับ WordPress โดยเฉพาะ ช่วยให้จัดการเว็บไซต์ WordPress ได้ง่ายขึ้น
  3. ความเร็วและเสถียร์
    WordPress Hosting มีการปรับค่าให้ทำงานกับ WordPress โดยเฉพาะอยู่แล้ว รวมถึงทรัพยากรที่มีจะมากกว่า Share Hosting ทำให้เว็บบน WordPress Hosting เร็วกว่าและรองรับผู้ใช้งานมากกว่า
  4. ความปลอดภัย
    WordPress Hosting ส่วนใหญ่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ออกแบบมาสำหรับ WordPress โดยเฉพาะอยู่แล้ว 
    รวมถึงระบบ Auto Update ช่วยให้เว็บไซต์ WordPress เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเสมอ ช่วยป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ดี
เว็บไซต์ของเราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่คุณ การใช้เว็บไซต์ของเราแสดงว่าคุณยินยอมให้ใช้คุกกี้ คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าคุกกี้ในเบราว์เซอร์ของคุณได้ตลอดเวลา